Tuesday, April 28, 2020

เหตุผลสำคัญที่ลูกค้ามองหาที่ปรึกษาทางการเงิน

0
Merrill Lynch องค์กรทางด้านวางแผนการเงินในเครือ Bank of America ได้ทำการสำรวจข้อมูลเพื่อหาเหตุผลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในชีวิต โดยมีการทำสำรวจกว่า 20,000 ตัวอย่างในสังคมออนไลน์ Twitter Poll มีเหตุผลที่สำคัญในการหันหน้าเข้าหาที่ปรึกษาทางการเงินเป็นสัดส่วน ดังนี้

การซื้อขายที่อยู่อาศัย 36%
คิดถึงการเกษียณ 36%
เมื่อรู้ตัวว่ากำลังจะมีลูก 15%
การหย่าร้าง และการแต่งงานใหม่ 13%

เหตุการณ์สำคัญในชีวิตเหล่านี้มักจะทำให้ผู้คนเริ่มหันมามองว่าเรื่องเงินทองมีอะไรบ้างที่ต้องใส่ใจ การจัดการด้านความมั่นคงทางการเงินต้องทำอย่างไร แต่นี่ก็ไม่ไช่ความคิดที่ดีในการรอจนกว่าจำเป็นแล้วค่อยพบกับผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ว่าควรเตรียมการพบกับที่ปรึกษาการเงินแต่เนิ่นๆ เพื่อเตรียมการล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความจำเป็นกระทันหันเพื่อปกป้องความมั่นคงในอนาคต เมื่อเรามีที่ปรึกษาฯ แล้ววันใดเราเกิดมีเหตุการณ์สำคัญ เราจะมีความพร้อมในการรับมือและ มั่นใจว่าแผนที่วางไว้สามารถรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับการเงิน


5 เหตุผลในการพบกับที่ปรึกษาทางการเงิน และการเตรียมการ


1. การเริ่มต้นครอบครัว คำถามคือ เราควรเตรียมออมเงินเพื่อการศึกษาของลูกๆเมื่อไหร่ดีครับ?

ตัวอย่างในสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรจนถึงอายุ 17 ปี สูงถึง 233,610 ดอลลาร์ ซึ่งยังไม่รวมค่าเล่าเรียน ตัวแทนและที่ปรึกษาทางการเงินสามารถใช้ประเด็นเรื่องนี้ในการสนทนาเพื่อแนะนำการเก็บออมด้านการศึกษาให้กับลูกๆ และการบริหารเงินเพื่อการเกษียณในขณะที่ต้องมีภาระในการสร้างครอบครัวไปด้วยกัน


2. การซื้อ หรือ การขายบ้านที่อยู่อาศัย คำถามคือ ยอดวงเงินกู้เราจะต้องใช้เวลาจัดการอีกนานแค่ไหน?

ธุรกรรมทางการเงินขนาดใหญ่มักมีผลต่อต่อภาวะการใช้จ่าย ก่อนที่จะเริ่มมองหาบ้าน ที่ปรึกษาทางการเงินสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวงเงินการกู้ยืม การวางแผนเงินดาวน์ และการวางแผนการผ่อนชำระในระยะยาว และสำหรับกรณีการขายบ้าน ที่ปรึกษาสามารถเป็นผู้ให้คำแนะนำในการบริหารจัดการเงินจากการขายเพื่อส่งเสริมเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ


3. การหย่าร้าง หรือ แต่งงานใหม่อีกครั้ง คำถามคือ เราจะจัดการหรือ แบ่งทรัพย์สินกันอย่างไร?

คู่ชีวิตเมื่อถึงเวลาที่หย่าร้างจะเผชิญกับการจัดการเรื่องการเงิน แล้วยังมีภาวะขุ่นเคืองด้านอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จากนั้นแต่ละคนจะมีรายได้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างไร การแบ่งแยกทรัพย์สินจะทำอย่างไร อีกทั้งการสมรสกับคนใหม่หลังจากหย่าร้างกับคนเก่า จะมีประเด็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินที่มีความเกี่ยวโยงกับอดีตคู่สมรสซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินสามารถช่วยเหลือ ผู้สมรสครั้งใหม่ผ่านช่วงเวลาที่ต้องจัดการเรื่องนี้ให้ผ่านพ้นไปได้ เช่น พินัยกรรมฉบับเดิมที่ยังคงผูกพัน มรดกทรัพย์สินที่จะต้องตกทอดไปยังทายาทโดยธรรม ประกันชีวิตช่วยวางแผนและจัดการเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร การสมรสครั้งใหม่มีผลทางกฎหมายอย่างไร


4. เมื่อได้รับมรดกหรือ ได้มาซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง

คำถามคือ จะต้องจ่ายเงินปลดหนี้เลยไหม ลงทุนไหม หรือว่าจะเกษียณก่อนกำหนดไหม? การได้รับเงินทรัพย์สินมูลค่าสูงอย่างไม่ได้คาดคิดมาก่อน จะเกิดคำถามทันทีว่าจะจัดการอย่างไร ที่ปรึกษาทางการเงินสามารถให้คำปรึกษาที่มีคุณภาพเพื่อจัดสรรและบริหารทรัพย์สิน เช่น การจ่ายเงินปลดหนี้สิน การจัดสรรเงินลงทุนเพื่ออนาคต และวางแผนการเกษียณอย่างเหมาะสม


5. เข้าสู่ช่วงเวลาเกษียณ

คำถามคือ เราจะมีชีวิตวัยเกษียณอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร? ชีวิตหลังเกษียณมีแนวโน้มยืนยาวกว่าแต่ก่อน มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีที่ปรึษาทางการเงินในการช่วยแนะนำ ซึ่งอาจเป็นช่วง 5-10ปีล่วงหน้า ซึ่งหมายถึงการออมเงินเพื่อการเกษียณที่มีมาตลอดช่วงการทำงาน เมื่อถึงเวลาที่เกษียณจริงจะต้อง จัดการอย่างไร เพื่อให้จัดการรายรับและรายจ่ายตามที่คาดหวัง เช่น สวัสดิการกองทุนประเภทต่างๆ การเตรียมรับมือกับการเจ็บไข้ได้ป่วยในวัยชราเป็นต้น


บทความโดย Michael S. Fischer, https://www.thinkadvisor.com/best-practices/
Author Image

About Surat Sod-Ngam
นายประกัน (9prakun) บอกทุกเงื่อนไข ไม่มีหมกเม็ด จะซื้อประกันทั้งทีได้แค่แบบประกันดีๆ ยังไม่พอ ต้องได้ตัวแทนดีๆ คอยดูแลผลประโยชน์ให้เราด้วย ครับ

No comments:

Post a Comment